ปริญญาตรีในอเมริกา กับ 3 ทางเลือกสำหรับการศึกษาต่อ

เรียนต่อ ปริญญาตรีในอเมริกา

3 ทางเลือก

การศึกษาต่อ ปริญญาตรีในอเมริกา

สำหรับคนที่มีความสนใจเรียนต่อประเทศสหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาตรี และกำลังศึกษาหาข้อมูลทางเลือกต่างๆ ก้อปันกัน ทีมที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อ community college และ ปริญญาตรีในอเมริกา ได้สรุปข้อมูล 3 ทางเลือกในการเรียนต่อปริญญาตรีในอเมริกา มาให้ไว้ในบทความนี้แล้ว

ตารางเปรียบเทียบ 3 ทางเลือก

สำหรับการศึกษาต่อป.ตรีอเมริกา

เกี่ยวกับปริญญาตรีCommunity College + ปริญญาตรีอนุปริญญาวิชาชีพ (Associate of Applied)
ความยากง่ายในการสมัครยากปานกลางปานกลาง
ผู้สอนอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์หรือกำลังทำงานวิจัย 

อาจารย์ผู้สอนที่เน้นด้านการสอนมากกว่าการทำงานวิจัย

อาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงานนั้นๆ เน้นด้านการสอนมากกว่าการทำงานวิจัย
ชั้นเรียนขนาดชั้นเรียนช่วงปี 1-2 อาจอยู่ที่ 200-500 คน+ โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยของรัฐ ชั้นเรียนในช่วงปี 1-2 ใน college อาจอยู่ที่ 25-35 คนต่อชั้นเรียนชั้นเรียนในช่วงปี 1-2 อาจอยู่ที่ 25-35 คนต่อชั้นเรียน
ค่าใช้จ่าย (สำหรับ 4 ปีการศึกษา)

ประมาณ $180,000 - $240,000 USD 

ประมาณ $90,000 - $176,000 USD ประมาณ $40,000 - $56,000 USD
ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน4 ปี4 ปี2 ปี

ทางเลือกที่ 1 :

การสมัครไปเรียนปริญญาตรีในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย 4 ปี

KorPunGun University Transfer Program

ศึกษาและเรียนรู้ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยระยะเวลา 4 ปี เหมือนการเรียนป.ตรี 4 ปี กับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

รูปแบบของสถานศึกษา 4 ปีในสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

     1) Public University คือ มหาวิทยาลัยรัฐ งบประมาณมาจากภาษีของประชาชนและรัฐบาลเป็นหลัก มักจะเป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีจำนวนนักศึกษาต่อชั้นเรียนในช่วง lower division courses (ปี 1-2) ไม่ต่ำกว่า 200 คน ต่อชั้นเรียน ตัวอย่าง public uni เช่น UC Berkeley, UCLA, U of Michigan, William & Mary, Purdue University

     2) Private University คือ มหาวิทยาลัยเอกชน งบประมาณมาจากค่าเทอมและค่าธรรมของผู้เรียน และเงินสนับสนุนจาก donors เป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วมาขนาดที่เล็กกว่า Public (แต่ไม่เสมอไป) และจำนวนนักศึกษาต่อชั้นเรียนที่น้อยกว่า public universities ตัวอย่าง private uni เช่น Stanford, Harvard, Yale, Princeton เป็นต้น

     3) Liberal Arts Colleges คือ วิทยาลัยสหาวิทยากร ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันเอกชน มักจะเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวนนักศึกษาต่อชั้นเรียนประมาณ 15-20 คน ตลอดทั้ง 4 ปีการศึกษา หลักสูตรการเรียนแบบสหวิทยาการ ให้มีความรู้และความสามารถแบบรอบด้าน ตัวอย่าง Liberal Arts Colleges เช่น Amherst College, Swarthmore College, Pomona College, Williams College, Claremont McKenna College เป็นต้น

วิธีการสมัครใช้เข้าเรียนในทางเลือกแรก มักจะต้องใช้

– ผลการสอบ SAT
– ผลการสอบ TOEFL/IELTS
– การเขียน Statement of Purpose (S.O.P)
– ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) ระดับชั้นมัธยมปลาย

ค่าใช้จ่าย

กรอบค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ $30,000 – $60,000 USD+ ต่อปี รวมค่าเรียน ค่าที่พัก ค่าประกัน หนังสืออุปกรณ์การเรียน *ขึ้นอยู่กับสถาบัน

ทุนการศึกษา – หากต้องการทุนการศึกษา private university ปกติจะมีค่าเล่าเรียนที่สูงกว่า แต่มักจะมีทุนการศึกษาให้ด้วย ส่วน public university โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่ค่อยมีทุนให้นักศึกษาต่างชาติ (อาจมีบ้าง เช่น University Of Oregon, Portland State University, Washington State University) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมักจะไม่ค่อยมีทุนเต็มจำนวนให้นักศึกษาต่างชาติ หากต้องการทุนสูงๆ เช่น 50-100% สามารถอ่านบทความ ทุนการศึกษา – เรียนต่ออเมริกา

แนะนำอีกหนึ่งทางเลือก

Bachelor of Applied Degree

หลักสูตรการเรียนป.ตรีประยุกต์ในวิทยาลัย 4 ปี

• เรียนเฉพาะทางมุ่งเน้นพัฒนาทักษะและความรู้เชิงลึกสำหรับสายอาชีพที่เฉพาะเจาะจง
• ได้รับประกาศนียบัตรระดับปริญญาตรี สำหรับการทำงานในระดับที่สูงกกว่า entry level job
• ค่าเรียนช่วงปี 3-4 ในอัตราที่ประหยัดกว่ามหาวิทยาลัย 4 ปี

ทางเลือกที่ 2 :

เรียน Community College ก่อน และย้ายไปเรียน University

KorPunGun 22 University Transfer

เป็นระบบการศึกษาที่แตกต่างจากไทย ถึงแม้ไทยจะไปดูงานของอเมริกา และกลับมาสร้างวิทยาลัยชุมชน ของไทยทำขึ้นเพื่อเน้นฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้คนในชุมชน แต่ที่อเมริกามีวิทยาลัยชุมชนเพื่อขยายโอกาสให้ผู้ที่คนพักอาศัยในท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงนักศึกษาต่างชาติได้เข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพได้มากขึ้น

โดยทางเลือกนี้ เราจะเรียกว่า หลักสูตร 2+2 University Transfer การศึกษาใน 2 ปีแรกทั้งในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มีความคล้ายคลึงกัน โดยจะเรียนวิชาพื้นฐานปี 1-2 เหมือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นหลักสูตรแบบ liberal arts ที่จะได้เรียนวิชาการสื่อสารเชิงวิชาการ (ภาษาอังกฤษ) การคิดคำนวณ (Math) วิชาด้านมนุษยศาสตร์ (Humanities) วิชาด้านสังคมศาสตร์ (Social Science) วิชาด้านวิทยาศาสตร์ (Natural Science) และวิชาที่เตรียมสำหรับสาขาการเรียนที่สนใจ (Pre-major)

ดังนั้น เมื่อจบการศึกษาจาก Community College แล้วนักเรียนสามารถโอนไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้โดยทันที และโดยทั่วไปแล้วนักเรียนจะใช้เรียนเพิ่มอีกแค่ 2 ปีเพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (Bachelor’s Degree) *แตกต่างกันกับวิธีแรกด้วยค่าใช้จ่าย สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขการสมัครเข้าเรียน

ทางเลือกที่ 3 :

เรียนหลักสูตร Associate of Applied degree (vocational)

KPG Study and Work in Canada

สำหรับคนที่เรียนจบม.ปลาย หรือป.ตรีแล้ว และสนใจไปเรียนหลักสูตรเพื่อการพัฒนาความรู้หรือทักษะเฉพาะทาง โดยหลักสูตรที่เรียนจะประกอบไปด้วยวิชาเรียนที่เน้นไปในด้านที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรนั้นๆ ไม่ได้เรียนกว้างๆแบบ liberal arts เหมือนรูปแบบที่ 1 และ 2 ใช้เวลาประมาณ 2 ปีการศึกษา ตัวอย่างสายการเรียนที่เปิดสอน เช่น Automotive, Clean Technology, Culinary Arts, Digital Gaming, Dental Hygiene Assitant, Nurse, Network Information System, Cyber Security, Music Technology, Digital Filming เป็นต้น

เรียนจบแล้วยังไงต่อ?

1. สามารถขอ OPT ได้ 1-3 ปี (3 ปี สำหรับ STEM majors) เหมือนกับการจบป.ตรี ได้ หรือ

2. สามารถโอนหน่วยกิตบางส่วนเพื่อศึกษาต่อให้จบป.ตรีได้ ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะใช้เวลาเรียนเพิ่มเติม 2-3 ปี ในมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะสำเร็จการศึกษาระดับป.ตรี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาขาวิชาเรียนที่เลือกเรียน

วิธีการสมัคร
และค่าเล่าเรียนของทางเลือกที่ 2 และ 3

วิธีการสมัคร

โดยทั่วไปแล้วจะเป็นระบบ open admission ไม่คัดเกรด คือ เปิดรับทุกคนที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขที่กำหนด สำหรับนักศึกษาต่างชาติ จะพิจารณาจาก

a) อายุ หรือระดับการศึกษาล่าสุดที่จบ
b) เอกสารรับรองทางการเงินของ sponsor มียอดค่าใช้จ่ายเพียงพอสำหรับ 1 ปีการศึกษา
c) ใช้ transcript การศึกษาชั้นล่าสุดที่จบ และ
d) ระดับภาษาอังกฤษ *บางสถาบันไม่บังคับสอบ TOEFL / IELTS แต่ถ้าไม่สอบ จะต้องไปสอบวัดระดับภาษาที่วิทยาลัย แต่บางสถาบันบังคับใช้ผลสอบ

ค่าใช้จ่าย

ค่าเล่าเรียนอยู่ที่ประมาณ $8,000 – $9,000 USD ต่อปี ทั้งนี้สำหรับค่าใช้จ่ายโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ $20,000 – $28,000 USD ต่อปีการศึกษา รวมค่าเรียน ค่าที่พัก ค่าประกัน หนังสืออุปกรณ์การเรียน ตารางชี้แจงค่าใช้จ่ายโดยประมาณ

Item/รายการ1 ปีการศึกษาCurrency/ สกุลเงิน
Tuition and fees: ค่าเทอม ค่าธรรมเนียมของวิทยาลัย12,000USD
Medical Insurance: ค่าประกันสุขภาพ1,200USD
Housing: ค่าที่พัก9,450USD
Book & Supplies: ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน795USD
รวม USD23,445USD
รวม THB844,020THB

คลิปสรุป 3 วิธีเรียนต่ออป.ตรีอเมริกา โดย Nichawong

เกร็ดความรู้ :

ระบบการศึกษาในอเมริกา

ช่วง 2 ปีแรก : ปี 1 เรียกว่า Freshman และ  ปี 2 เรียกว่า Sophomore ในช่วง 2 ปีนี้สถาบันการศึกษส่วนมากกำหนดให้นักศึกษาลงเรียนวิชาในภาคสาขาที่หลากหลาย เพื่อที่จะเติมเต็มข้อกำหนด รวมถึง ภาคการศึกษาทั่วไปภาคสังคมศาสตร์, ภาคมนุษยศาสตร์, ภาควิทยาศาสตร์, และภาควิชาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเอกวิชาที่นักศึกษาตั้งใจจะศึกษา

ช่วง 2 ปีหลัง : ปี 3 เรียกว่า Junior และ ปี 4 เรียกว่า Senior ในช่วง 2 ปีนี้นักศึกษาจะต้องเลือก วิชาเอก (major) โดยส่วนมากนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาภายใต้สาขาวิชาที่เลือก ซึ่งถ้าหากต้องการ นักศึกษาสามารถที่จะเลือกวิชาโท (Minor) ได้ด้วย

อาจารย์ที่ปรึกษา : นักศึกษาทุกคนจะถูกจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษา (Faculty Advisor) ซึ่งเป็นผู้สอนในภาคสาขาที่นักศึกษาตั้งใจที่จะเลือกเรียน หน้าที่ของพวกเขาคือการให้ความช่วยเหลือกับนักศึกษาในการเลือกหลักสูตรการเรียนและเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ

แผนกบริการพิเศษสำหรับนักเรียนต่างชาติ : สถาบันที่มีแผนกบริการพิเศษสำหรับนักเรียนต่างชาติ (ส่วนใหญ่จะมีใน Community College) จะมี International Student Advisors ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับนักเรียนต่างชาติคอยให้ความช่วยเหลือและแนะแนวแก่นักเรียนต่างชาติอีกด้วย ซึ่งพวกเขาจะช่วยเหลือในเรื่องของ วีซ่า การลงทะเบียนเรียน การเตรียมความพร้อมในการโอนเข้ามหาวิทยาลัยตามความต้องการของนักเรียน การทำงานหลังจบการศึกษาและปัญหาต่างๆ อีกด้วย

ปฎิทินการศึกษาและจำนวนหน่วยกิต

ปฎิทินการศึกษาของอเมริกา 2 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย

1. Semester system หรือ ระบบภาคเรียนที่แบ่งเป็น 3 เทอม คือ Fall (เริ่มสิงหาคม/กันยายน) Spring (เริ่มมกราคม) และ Summer (เริ่มมิถุนายน)

ในปฏิทินการศึกษารูปแบบ Semester ผู้เรียนจะต้องใช้จำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 120 หน่วยในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็นปีละ 30 หน่วยกิต ผู้เรียนจะต้องลงเรียนขั้นต่ำเรียนเทอมละ 12-15 หน่วยกิต ซึ่งวิชาเรียนทั่วไปจะนับเป็น 3 หน่วยกิต กล่าวคือ ผู้เรียนมักจะลงเรียน 4-5 วิชาใน 1 เทอมการศึกษา

2. Quarter system หรือ ระบบภาคเรียนที่แบ่งเป็น 4 เทอม คือ Fall (เริ่มกันยายน) Winter (เริ่มมกราคม) Spring (เริ่มเมษายน) และ Summer (เริ่มกรกฎาคม)

ในปฏิทินการศึกษารูปแบบ Quarter ผู้เรียนจะต้องใช้จำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 180 หน่วยในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็นปีละ 45 หน่วยกิต ผู้เรียนจะต้องลงเรียนขั้นต่ำเรียนเทอมละ 12-15 หน่วยกิต ซึ่งวิชาเรียนทั่วไปจะนับเป็น 5 หน่วยกิต กล่าวคือ ผู้เรียนมักจะลงเรียน 3 วิชาใน 1 เทอมการศึกษา

หมายเหตุ:

  • ผู้เรียนสามารถเริ่มต้นการศึกษาในระบบ quarter หรือ semester และโอนย้ายไปศึกษาต่อในสถาบันที่ใช้ปฏิทินการศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างออกไปได้ สถาบันที่ตอบรับในการโอนเข้าศึกษาต่อจะคำนวณหน่วยกิตเทียบเท่าให้โดยอัตโนมัติ

ข้อมูลเหล่านี้เป็นการสรุปภาพรวม ซึ่งเราแนะนำให้คุณค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับทุกคน เนื่องจากแต่ละสถาบัน แต่ละหลักสูตร จะมีจุดเด่น ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป แต่หากไม่แน่ใจว่าจะเลือกยังไงดี หรือจะดำเนินการยังไงต่อ ติดต่อเรามาได้เลย

# เรียนต่อ ปริญญาตรีในอเมริกา

ขอรับคำปรึกษา

 

เรียนต่อแคนาดา อเมริกา

Line : @korpungun

เรียนภาษาที่ฟิลิปปินส์

Line : @kpglearn

คอร์สออนไลน์ KPG LIVE

Line : @kpglive

TEL: 094-883-8778

นัดหมายพูดคุยผ่าน