ก่อนเรียนต่อแคนาดาอย่าลืมพิจารณาสิ่งนี้!

ขั้นตอนแรก ก่อนเลือกลงหลักปักฐาน เรียนต่อแคนาดา ก้อปันกัน ได้รวบรวมคำแนะนำเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ควรคำนึงถึงในการค้นหาข้อมูลและวางแผนสำหรับการเรียนต่อต่างประเทศมาฝากกัน!

ทำไมต้องเรียนต่อแคนาดา?

Location

เมื่อสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษาเกี่ยวโยงโดยตรงกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ไม่ว่าจะที่อยู่อาศัย อาหารการกิน การเดินทาง สภาพอากาศแวดล้อม หรือแหล่งพักผ่อนหย่อนใจในวันพักผ่อน ดังนั้นแล้วนอกจากเลือกสถาบันควรสำรวจสภาพแวดล้อมว่าเหมาะกับไลฟ์สไตล์ตนเองหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าเราจะต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ไปอย่างน้อยที่สุดก็ราว 1-2 ปี 

งบประมาณในการศึกษา

เมื่อพูดถึงค่าใช้จ่ายในการศึกษาแคนาดาขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งการศึกษาคุณภาพในงบประมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศแห่งการศึกษาอื่นๆ สำหรับประมาณการ

• ค่าเล่าเรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย 4 ปี เฉลี่ยแล้วต่ำสุดจะอยู่ที่ประมาณ เริ่มต้น 16,000 CAD หรือ 400,000 บาท ในขณะที่อัตราที่สูงอาจะอยู่ที่ประมาณ 40,000 CAD หรือ 1 ล้านบาท + ต่อ 1 ปีการศึกษา

• ค่าครองชีพเดือนละประมาณ 1,800 CAD หรือประมาณ 47,000 บาท เป็นอย่างต่ำ

• ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขั้นต่ำปีละ 4,000 CAD หรือประมาณ 100,000 บาท

สำหรับการเรียนต่อประเทศแคนาดาที่มีความน่าสนใจ คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่า USD และหากคุณเรียนอยู่ในหลักสูตร diploma ปริญญาตรีหรือปริญญาโท จะสามารถทำงานทั้งใน และนอกสถานศึกษาได้อย่างถูกกฎหมายไม่เกินว่า 24 สัปดาห์ของช่วงเปิดเทอม (เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2024) และทำงานได้อย่างเต็มเวลาในช่วงปิดเทอมอย่างถูกกฎหมายอีกด้วย

ตัวเลือกโปรแกรมการเรียนต่อแคนาดา

หลังจบมัธยมปลาย

มีตัวเลือกแบบไหนบ้าง?

หากคุณอยากจะเรียนต่อทั้งทีแต่หลักสูตรที่ไทยก็ไม่เอื้อให้ภาษาแข็งแรง “เรียนจบไปก็กลัวตกงาน”

ประเทศแคนาดา เป็นหนึ่งในทางออกสำหรับทุกคนที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ หลังเรียนจบในการทำงานเพราะที่นี่เปิดกว้าง พร้อมต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ เข้าไปศึกษาทั้งในรูปแบบการเรียนเพื่อ “เก็บประสบการณ์” ยังไม่หวังย้ายประเทศ ไปจนถึงเรียนพร้อมเข้าทำงานในแคนาดาและย้ายสัญชาติได้ ที่สำคัญยังมีตำแหน่งงาน พร้อมรองรับอีกมากกว่าล้านตำแหน่ง!!

วันนี้ “ก้อปันกัน (KPG)” เตรียมข้อมูลหลักสูตรและการเตรียมตัวสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจไปเรียนต่อที่แคนาดาไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเทอม สิ่งที่ต้องใช้ในการสมัคร รวมไปถึงการทำงานระหว่างเรียน ทุกข้อมูลที่เรารู้ เตรียมมาให้น้อง ๆ อ่านแบบไม่มีกั๊ก จัดเต็มแบบละเอียดสุด ๆเพื่อประกอบการตัดสินใจ และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปเรียนต่อกันครับ

โดยข้อสรุป สำหรับคำถามที่ควรพิจารณากับตนเอง คือ

• เป้าหมายเป็นหลัก ว่าน้อง ๆ อยากไปเรียนต่อเพื่ออะไร เพื่อภาษา? เพื่อการย้ายประเทศ? เพื่อทำงานในอนาคต?
• เลือกดูเมืองและสิ่งแวดล้อมที่เราอยากอยู่ เมืองเล็กหรือใหญ่? รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่มีโอกาสทำงานต่อหลังเรียนจบ
• ประวัติการศึกษา GPA ต่าง ๆ ของเราสามารถสมัครในหลักสูตรไหนบ้าง? อันนี้ก็เป็นอีกปัจจัยที่น้อง ๆ ต้องอ่านรายละเอียดให้ดี
• ควรรู้ระดับภาษาว่าของเราอยู่ระดับไหน? เพื่อวางแผนเรียนปรับภาษาในไทย หรือ เรียนปรับภาษาที่ต่างประเทศ?
• เงื่อนไขในการสมัคร ว่าหลักสูตรที่เราสนใจเปิดรับสมัครกี่ครั้ง และเรามีคุณสมบัติสำหรับการสมัครไหม เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการไปเรียนต่อ
• . ข้อที่สำคัญที่สุดเลยคือ “งบ” เงินในกระเป๋าเพียงพอและจ่ายไหวในหลักสูตรไหน

สำหรับขั้นตอนการสมัครเรียนต่อแคนาดา

1) พิจารณาตัวเลือกสถาบันและหลักสูตร จากคำถามด้านบน
2) วางแผน ติดต่อและติดตามผลการสมัครเรียน
3) เตรียมเอกสารและดำเนินการสมัครวีซ่า
4) เตรียมตัวก่อนเดินทาง เช่น จัดหาที่พัก จองไฟล์บิน ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อม

หากใครที่อาจลังเลอยู่ว่าจะสมัครเรียนเองหรือใช้บริการเอเจนซี่ แนะนำให้อ่านบทความเปรียบเทียบนี้ได้ครับ

ตัวเลือกที่ 1 : Work & Study (Co-op)

เรียนเพื่อปรับภาษา ปรับตัว ทำงานระยะสั้น (ยัง)ไม่หวังย้ายประเทศ

Work & Study (Co-op) คืออะไร?

หลักโปรแกรม Work & Study Certifiacte หรือ Diploma ของสถาบันเอกชน
มักจะมีระยะเวลาเรียนครึ่งหนึ่งและทำงานรูปแบบ co-op อีกครึ่งหนึ่งของหลักสูตร
ยกตัวอย่างเช่น เรียนและทำงานอย่างละ 6 เดือน หรือ เรียนและทำงานอย่างละ 12 เดือน

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร

• เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางภาษา
ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนและทำงานในแคนาดา เก็บเกี่ยวประสบการณ์ Co-op กับวิทยาลัยเอกชน
• เก็บเกี่ยวความรู้พื้นฐานของสายงานด้าน Business, Hospitality, Marketing, Service, Technology
• เป็นประโยชน์ต่อการสำรวจความสนใจก่อนเรียนต่อหรือทำงานระยะยาวได้

สามารถทำงานระหว่างเรียนได้ไหม?

หลักสูตรนี้น้อง ๆ ที่อยากฝึกภาษาไปด้วย เก็บเงินจากการทำงานไปด้วยตอบโจทย์มากครับเพราะสามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ ระหว่างเรียน และ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ ช่วง co-op อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อจำกัดของหลักสูตร

-> ใครที่หวังย้ายประเทศหลักสูตรนี้ไม่ตอบโจทย์นะครับ เพราะเมื่อโครงการสิ้นสุดแล้ว
จะไม่สามารถขอใบอนุญาตสำหรับการทำงาน (PGWP) ในแคนาดาที่จะนำไปสู่การยื่นขอสถานะผู้พักอาศัยถาวรได้ หากใครจะย้ายประเทศ จริงๆก็อาจจะหาทางได้ เช่น เรียนต่อในหลักสูตรอื่นๆ ครับ

ค่าใช้จ่ายในหลักสูตร

• ค่าสมัคร ค่าแบบเรียน และค่าเล่าเรียนจะอยู่ประมาณ 180,000 – 400,000 บาท *ขึ้นอยู่กับหลักสูตร
• สำหรับค่าครองชีพ (ค่าที่พัก และใช้จ่ายส่วนตัว) เดือนละประมาณ 1,800 CAD หรือประมาณเดือนละ 47,000 บาท/ต่อเดือน

เทอมเริ่มเรียน และการยื่นสมัคร

-> โดยทั่วไปมักจะเปิดรับสมัครเข้าเรียนทุกๆ 1-2 หรือ 3 เดือน
-> แนะนำให้สมัครอย่างช้า 4-5 เดือนก่อนเริ่มเรียน

ระดับความรู้ภาษาอังกฤษ

1) Passport (แนะนำให้มีอายุการใช้งานเหลือไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี)
2) Transcript มัธยมปลาย หรือ ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ
3) เอกสารรับรองการจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย หรือ ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ
4) ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ

-> ขั้นต่ำ IELTS 5.0 – 6.0
-> ไม่จำเป็นต้องยื่นผลสอบ IELTS เนื่องจากสามารถขอทำแบบทดสอบภาษาออนไลน์ได้ฟรี และใช้ผลสอบแทน IELTS ได้ ซึ่งหากระดับภาษาอังกฤษ ไม่ถึงเกณฑ์ สามารถเรียนปรับภาษา ให้จบในระดับที่กำหนด เพื่อเข้าศึกษาต่อได้

น้อง ๆ ที่อยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Work & Study (Co-op)

ตัวเลือกที่ 2 เรียนต่อ Undergraduate

หลักสูตรปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย

สำหรับ “ก้อปันกัน” มีมาแนะนำน้อง ๆ ที่สนใจเรียนต่อ ป.ตรี กันถึง 3 รูปแบบ

• ทางเลือกที่ 1 หลักสูตรปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย 4 ปี
ซึ่งน้อง ๆ จะที่ได้เรียนตั้งแต่ระดับปี 1-4 ในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี
โดยในช่วงปี 1-2 จะเป็นการเรียนพื้นฐานหลากหลายสาขาวิชา วิชาพื้นฐานของสาขาวิชาที่สนใจศึกษาต่อ ก่อนที่จะศึกษาเชิงลึกในสาขาที่เลือกเรียนในช่วงปี 3-4 (ต้องจบ ม.ปลายจากประเทศไทยก่อนถึงสมัครได้)

• ทางเลือกที่ 2 หลักสูตร Transfer – College to University ในแคนาดา
เป็นหลักสูตรที่น้อง ๆ จะต้องเรียนในวิทยาลัย 2 ปี และเทียบโอนวิชาเรียนต่อในมหาวิทยาลัยอีก 2-3 ปี โดยที่สามารถเลือกที่จะทำงานก่อนเมื่อจบ 2 ปีแล้วค่อยโอนศึกษาต่อ หรือจะโอนศึกษาต่อให้จบป.ตรี หลังจากจบ 2 ปีแรกเลยก็ได้ โดยจะได้ประหยัดค่าเล่าเรียน 50-70% สำหรับช่วงปี 1-2 เมื่อเทียบกับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย 4 ปีโดยตรง

• ทางเลือกที่ 3 Diploma, Advanced Diploma หรือ Applied Degree (Bachelor) ในวิทยาลัย (College)
สำหรับผู้ที่อยากเรียนและฝึกฝนทักษะเฉพาะทางสำหรับการทำงานในสายงานที่สนใจ หลักสูตรจะมุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมด้านทักษะและความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่ออาชีพที่ต้องการทำเท่านั้น

สำหรับระยะเวลาเรียน: โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลา 2 ปีการศึกษา สำหรับหลักสูตร Diploma, 3 ปี สำหรับหลักสูตร Advanced Diploma และ 4 ปีสำหรับหลักสูตร Applied Bachelor’s Degree ซึ่งการจบ Applied Bachelor’s Degree นี้นอกจากจะเตรียมให้เรามีความพร้อมในการทำงานในสายงานแล้ว เรายังสามารถใช้วุฒินี้สมัครเพื่อศึกษาต่อระดับป.โทในอนาคตได้อีกด้วย หากต้องการ

*สำหรับผู้เรียนที่จบป.ตรีแล้ว และต้องการเรียนป.ตรีใบที่ 2 ในสาขาที่แตกต่างอาจพิจารณาทางเลือกนี้ได้ เช่น จบด้าน I.T. และต้องการเรียนต่อ Business สามารถเลือกเรียนป.ตรี โดยเทียบโอนหน่วยกิต เพื่อใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปีการศึกษาในการจบป.ตรีใบที่ 2 ในแคนาดาได้ครับ

จุดเด่นของทางเลือกที่ 3 

•  หลักสูตรการเรียนมักจะมีองค์ประกอบของการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง (field work/co-op) ที่จะช่วยให้เรามีความพร้อมในการทำงานตั้งแต่ที่ศึกษาอยู่ในวิทยาลัย และช่วยให้เรามีคอนเนคชั่นที่จะช่วยหางานทำหลังเรียนจบได้อีกด้วย
ตอบโจทย์การย้ายประเทศ
-> ทันทีที่เรียนจบ หากสถาบันที่เรียนนั้น อยู่ในลิสต์สถาบันที่ผู้สมัครสามารถขอใบอนุญาตทำงาน (PGWP) หลังเรียนจบได้
-> หากทำงานในประเทศแคนาดาอย่างน้อย 1 ปี จะมีสิทธิ์สมัครขอสถานะ PR เป็นผู้อาศัยถาวรของประเทศ PR 

สามารถทำงานระหว่างเรียนได้ไหม ?

• ระหว่างที่ศึกษา (ไม่รวมการเรียนปรับภาษาอังกฤษ) สามารถทำงานได้สัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง
• ใครอยากหารายได้เสริมแบ่งเบาภาระที่บ้าน ช่วงปิดเทอมสามารถทำงานได้ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ แบบถูกต้องตามกฎหมายครับ

ค่าเล่าเรียนต่อ 1 ปีการศึกษา

• University Bachelor’s Degree (ปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย 4 ปี) ขั้นต่ำ 20,000 CAD หรือประมาณ 540,000 บาทต่อปีการศึกษา 
• Transfer Program – College to University (เรียนวิทยาลัย 2 ปี + มหาวิทยาลัย 2 ปี) ขั้นต่ำ 16,000 CAD หรือ 432,000 บาท ต่อปีในวิทยาลัย + ขั้นต่ำ 20,000 CAD หรือ 540,000 บาทต่อปีในมหาวิทยาลัย
• College Diploma / Applied Bachelor’s Degree (เรียนเฉพาะทางเพื่อการเตรียมตัวและทำงานในสายอาชีพที่สนใจ 2-4 ปี) ขั้นต่ำ 16,000 CAD หรือ 432,000 บาท ต่อปีการศึกษา

เทอมเริ่มเรียน และการยื่นสมัคร

-> โดยทั่วไปมักจะเปิดรับสมัครเข้าเรียนปีละ 1, 2 หรือ 3 ครั้ง
-> แนะนำให้สมัคร 6-10 เดือนก่อนเริ่มเรียน (หลักสูตรที่ได้รับความนิยมหลายหลักสูตรจะเต็มตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เปิดรับสมัคร)

สิ่งที่ต้องใช้ในการสมัคร

1) Passport (แนะนำให้มีอายุการใช้งานเหลือไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี)
2) Transcript มัธยมปลาย หรือ ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ
3) เอกสารรับรองการจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย หรือ ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ
4) ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ
*อาจจะต้องใช้ portfolio, resume สำหรับบางสาขาการเรียน

ระดับภาษา

ขั้นต่ำ IELTS Academic 6.0 – 6.5
-> หลายหลักสูตรจำเป็นต้องมีผลภาษาในการยื่นสมัคร (บางหลักสูตรให้สมัครก่อน และยื่นผลภาษาตามในภายหลังได้)
-> หากระดับภาษาอังกฤษ ไม่ถึงเกณฑ์ สามารถเรียนปรับภาษา ให้จบในระดับที่กำหนด เพื่อเข้าศึกษาต่อได้

น้อง ๆ ที่อยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ป.ตรีแคนาดา

ตัวเลือกที่ 3 สำหรับบัณฑิต ที่จบป.ตรีแล้ว

โดยมีทางเลือก คือ

1) Master’s Degree หรือการเรียนต่อป.โท ที่อาจเน้นการศึกษาเชิงค้นคว้าและเกี่ยวกับทฤษฎี มากกว่าการฝึกทักษะเพื่อการทำงานในสายอาชีพ ใช้เวลาเรียนประมาณ 2 ปีการศึกษา รวมถึงจะมีข้อกำหนดในส่วนของเงื่อนไขการสมัครเข้าศึกษาต่อ เช่น GPA 3.0 + ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ และอาจรวมถึงสาขาการเรียนที่จบก่อนหน้าที่เคร่งครัดมากกว่า

2) Post-Degree Diploma / Graduate Certificate หรืออาจเรียกว่า Post-Baccalaureate Diploma คือ เรียนเฉพาะทาง เน้นการฝึกฝนสำหรับสายอาชีพ (career training) สำหรับการทำงานในสายงานเฉพาะทางที่สนใจ ซึ่งอาจจะต้องมีพื้นฐานหรือไม่ต้องมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องมาก่อนก็ได้ ใช้เวลาเรียน 1 – 2 ปีแล้วแต่หลักสูตร และโดยส่วนมาก ไม่ได้บังคับว่าต้องมี GPA ที่สูงกว่า 3.0

สามารถทำงานระหว่างเรียนได้ไหม?

• ระหว่างที่ศึกษา (ไม่รวมการเรียนปรับภาษาอังกฤษ) สามารถทำงานได้สัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง
• ใครอยากหารายได้เสริมช่วงปิดเทอมสามารถทำงานได้ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
แบบถูกต้องตามกฎหมายครับ

ตอบโจทย์การย้ายประเทศ

-> หลังจากเรียนจบนักเรียนนานาชาติสามารถขอใบอนุญาตทำงานหลังเรียนจบ (PGWP) ได้นานถึง 3 ปี
-> หากทำงานในประเทศแคนาดาอย่างน้อย 1 ปี จะมีสิทธิ์สมัครขอสถานะ PR เป็นผู้อาศัยถาวรของประเทศ PR (เป็นระบบแข่งขันกันด้วยคะแนน)

ค่าเล่าเรียนต่อ 1 ปีการศึกษา

• Master’s Degree ปริญญาโททั่วไป 18,000 – 30,000 CAD หรือ 486,000 บาท ต่อปีการศึกษา
• Post graduate Certificate/Diploma ปริญญาแบบเฉพาะทาง ขั้นต่ำ 16,000 CAD หรือ 432,000 บาท ต่อปีการศึกษา

เทอมเริ่มเรียน และการยื่นสมัคร

-> โดยทั่วไปมักจะเปิดรับสมัครเข้าเรียนปีละ 1, 2 หรือ 3 ครั้ง
-> แนะนำให้สมัคร 10-11 เดือนก่อนเริ่มเรียน (หลักสูตรที่ได้รับความนิยมหลายหลักสูตรจะเต็มตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เปิดรับสมัคร)

สิ่งที่ต้องใช้ในการสมัคร

1) Passport (แนะนำให้มีอายุการใช้งานเหลือไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี)
2) Transcript ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ
3) เอกสารรับรองการจบการศึกษาระดับป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ
4) ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ
*อาจจำเป็นที่จะต้องใช้ portfolio, resume และประสบการณ์ทำงาน ในบางสาขา

ระดับภาษา

ขั้นต่ำ IELTS Academic 6.5 +
-> หลักสูตรส่วนมากจำเป็นต้องมีผลภาษาในการยื่นสมัคร (บางหลักสูตรให้สมัครก่อน และยื่นผลภาษาตามในภายหลังได้)
-> หากระดับภาษาอังกฤษ ไม่ถึงเกณฑ์ สามารถเรียนปรับภาษา ให้จบในระดับที่กำหนด เพื่อเข้าศึกษาต่อได้

น้อง ๆ ที่อยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ป.โทแคนาดา

เลือกสถาบันและหลักสูตรการเรียน

ไม่ว่าใครก็คงจะอยากเรียนในสถาบันชื่อดัง หรือได้ยินชื่อเสียงผ่านหูบ่อย ๆ แต่ในประเทศที่การศึกษาเป็นเลิศไม่ว่าเรียนที่ไหนก็เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคนาดาที่ยึดหลักเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา เพราะฉะนั้นมากกว่าชื่อเสียงมหาวิทยาลัย คือ จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการเรียนของคุณเอง ควรจะตรวจสอบให้มั่นใจด้วยว่าสถาบันนั้น ๆ มีหลักสูตร และสาขาเฉพาะทางตรงกับที่ตนเองสนใจ แนะนำโดยอย่างยิ่งในนักศึกษาปริญญาโทที่ควรจะต้องมีความชัดเจนในส่วนนี้  

สำหรับการเลือกหลักสูตร ผู้สมัครควรจะตรวจสอบ เพื่อเลือกดูหลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาต่างชาติ (international students) เข้าเรียนเพราะว่าไม่ใช่ทุกหลักสูตรที่จะเปิดรับนักศึกษาต่างขาติเข้าเรียน และแนะนำให้ดูรายละเอียดในส่วนของ

Admission Requirement เพื่อประเมินว่าตนเองน่าจะมีคุณสมบัตรเพียงพอสำหรับการสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรนั้นหรือไม่

Courses เพื่อเลือกดูรายวิชาที่จะได้เรียนในหลักสูตรนั้นว่าตรงกับความสนใจและความต้องการของตนหรือไม่ และ

Intake / Start Date เพื่อดูว่าหลักสูตรที่สนใจนั้นมีเปิดรับนักเรียนต่างชาติปีละกี่ครั้ง และสามารถเริ่มเทอมไหนได้บ้าง?

ที่สำคัญ ไม่แพ้กัน คือ การเลือกหลักสูตรที่จะตอบโจทย์
“Progression in Academic and Career Path​”

โดยเฉพาะผู้เรียนที่จบปริญญาตรีแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงในการสมัครขอวีซ่า ซึ่งในส่วนนี้หมายความว่า หลักสูตรที่จะไปเรียนนั้นจะต้องมีหรือนำไปสู่พัฒนาการด้านการศึกษาหรือการทำงาน กล่าวคือ ไม่ใช่การเรียนซ้ำในเรื่องเดิมที่เคยเรียนมาแล้ว และไม่ควรเรียนเพื่อไปทำงานในระดับที่ต่ำกว่าเดิม หรือไม่มีความต้องการในที่พักอาศัยอยู่ในปัจจุบัน

ดังนั้น โดยเฉพาะสำหรับผู้สมัครเรียนที่จบป.ตรีแล้ว หรือมีอายุมากกว่า 25 ปี + … KPG แนะนำให้ท่านศึกษา พิจาณาเลือกดูตัวเลือกสถาบันโปรแกรมและหลักสูตรต่างที่เรามีแนะนำและบริการก่อน ซึ่งเราแนะนำให้ท่านพิจารณาจากกรอบดังนี้
  1. พิจารณาประสบการณ์การศึกษาที่เคยได้ศึกษา และ/หรือทำงาน ที่ผ่านมาเรามี experience, skills และ knowledge อะไรติดตัวมาบ้าง?
  2. ตั้งคำถาม และตอบกับตนเองให้ได้ว่า งานประมาณไหนที่เราต้องการที่จะทำ? เราน่าจะทำได้ดีและถนัดที่จะทำ? และเราน่าจะต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง ในการที่จะทำสิ่งนั้นให้ได้? และที่สำคัญสิ่งที่จะเราจะเลือกเรียนนั้นจะนำไปใช้ต่อยอดเพื่อเพิ่มโอกาส หรือ เปลี่ยนสายงานใน career path ของเราได้อย่างไร? โดยที่ควรจะพิจารณาในมุมของ progression in academic and career path ด้วย ซึ่งหมายถึงว่าการไปเรียนและทำงานนี้ จะเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้นในมิติของการทำงานหรือการศึกษาต่อของท่านได้อย่างไร หรือจะทำให้ท่านมีโอกาสด้านการงานที่ดีกว่าเดิมอย่างไร?
  3. เมื่อพิจารณา และพอมีแนวทางที่จะเป็นไปได้แล้ว เราแนะนำให้ท่านนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาในการเลือกหลักสูตรโดยสามารถเลือกดูตัวเลือกหลักสูตรและสถาบันที่เรามีแนะนำได้ที่ https://canada.korpungun.com/ และถ้าดูแล้วมีสถาบันหรือหลักสูตรไหนที่ตอบโจทย์ แจ้งเรามาได้ ที่ Line @korpungun ครับ

ขอรับคำปรึกษา

 

เรียนต่อแคนาดา อเมริกา

Line : @korpungun

เรียนภาษาที่ฟิลิปปินส์

Line : @kpglearn

คอร์สออนไลน์ KPG LIVE

Line : @kpglive

TEL: 094-883-8778

นัดหมายพูดคุยผ่าน