ประสบการณ์เรียนต่อวิทยาลัย Shoreline
โอนศึกษาต่อ University of Washington (UW)
โดย ทิศา สมทรัพย์
Timeline การศึกษาต่ออเมริกาของทิศา
ทิศา ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนในอเมริกาที่ New Orleans ในปี 2015 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และกลับมาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 หลักสูตร E.P. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
หลังจากที่กลับมาจากโครงการแลกเปลี่ยน ทิศารู้สึกว่าอยากกลับไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่อเมริกา เพราะจากประสบการณ์ในช่วงที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนทำให้รู้สึกว่าหลักสูตร และวิธีการเรียนการสอน ที่อเมริกาน่าสนใจมากกว่า
ทิศา จึงเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่อเมริกา ในหลักสูตรมัธยมปลายและวิทยาลัยควบคู่ (High School Completion & University Transfer) ที่ Shoreline Community College ในวัย 17 ปี
ทิศาใช้เวลาในการเรียนที่ Shoreline ระยะเวลา 2 ปี (รวมทั้งหมด 6 เทอม) ในการจบทั้งหลักสูตรมัธยมปลาย และ associate for transfer degree ด้าน Communication Studies จากนั้นตอนอายุ 19 ปี ทิศา transfer เข้าศึกษาต่อที่ University of Washington (UW) Seattle ชั้นปีที่ 3 ด้าน Sociology และมีแพลนที่จะ double major ด้าน Communication
ประสบการณ์โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนในอเมริกา
ประสบการณ์แลกเปลี่ยนที่ทำให้รู้สึกว่าการเรียนต่ออเมริกาน่าสนใจ
ตอนอยู่ในโครงการแลกเปลี่ยน โรงเรียนให้ไปคุยกับ advisor ของโรงเรียน เขาถามว่า เราอยากที่จะเลือกเรียนอะไรในส่วนการศึกษาพื้นฐานทั่วไป (General Education) เขาเสนอความคิดว่า เราน่าจะเรียน a, b, c ซึ่งใน process ของการเลือกและตัดสินใจนี้ เราได้คุยกับ advisor เพื่อที่จะขอเลือก และขอเปลี่ยนคลาสตามความสนใจของเราได้ การเรียนมัธยมในอเมริกาอาจจะ fix เวลาเรียน แต่มันมีความยืดหยุ่นให้เราเลือกได้ว่าเราอยากจะเรียนอะไร เช่น ตอนเช้า ที่เราอาจจะยังง่วง เราอาจจะเลือกเรียนดนตรี ที่อาจจะทำให้เรารู้สึกและมีความพร้อมมากขึ้น
คือการเรียนในอเมริกาทำให้ทิศา รู้สึกว่า เราสามารถทดลองได้ แล้วก็เปลี่ยนได้ ทิศาคิดว่า การที่เราเลือกวิชาในการเรียนรู้ของเราไม่ได้ ทำให้เราไม่มี motivation ในการเรียน และเมื่อเราได้ตัดสินใจเลือกวิชาเรียนของเราเองแล้ว เราได้รับผิดชอบในการตัดสินใจของตัวเองด้วย
หลังจากโครงการแลกเปลี่ยน ทำไมถึงเลือกกลับไปเรียนต่ออเมริกา?
หลังจากกลับมาไทย ทิศาเข้าเรียนสายวิทย์-คณิต เราไม่ได้ชอบ และบอกพ่อแม่ไว้ว่าเราไม่ได้ชอบการเรียนสายนี้ แต่ระบบและสภาพทางสังคมทำให้เราต้องเลือกที่จะเข้าเรียนสายนี้
ภาพลักษณ์และความเข้าใจต่อสายศิลป์ค่อนข้างติดลบ ด้วยทัศนคิตแบบเหมารวม (stereotype) ที่สังคมมีต่อการเรียนสายศิลป์ ทำให้เด็กไม่อยากเรียน ครูไม่อยากสอน ถึงแม้ทิศาชอบเรียนอะไรที่ abstract เรียนด้านศิลป์ ไม่ได้ชอบในด้านของการคิดคำนวณนัก ทิศาต้องเลือกไปเรียนวิทย์-คณิต เพราะต้องการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเพื่อนและครูส่วนใหญ่ที่สนใจและตั้งใจเรียนและสอน
และการที่เราต้องการบังคับตัวเอง เราจึงไม่ happy เท่าไหร่ อีกอย่างการที่ไปแลกเปลี่ยนมา เรา skip foundation ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่ควรจะได้ศึกษาในระดับชั้นม.4 ไปด้วย ทำให้รู้สึกว่าการเรียนสายวิทย์-คณิตไม่ใช่ที่ทางของเราเอง
การเรียนต่อ Shoreline Community College
ทำไมถึงเลือกเรียนต่ออเมริกา ที่ Shoreline Community College?
เลือกไปเรียนต่อ Shoreline เพราะหลักสูตร High School Completion ที่เราสามารถเรียนเพื่อให้จบทั้งหลักสูตรมัธยมปลายและวิทยาลัยปี 1-2 พร้อมกัน ในระยะเวลา 2 ปี ได้
ตอนนั้น ทิศาอยู่ ม.5 อายุ 17 ปี มีความคิดว่า ถ้าเรียนจบได้ไวขึ้น ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเรียน มันก็เป็นตัวเลือกที่ดี และทิศาได้มาเข้าร่วมงานสัมมนาเรียนต่อ Shoreline Community College ของก้อปันกัน ทิศาสนใจเรียนทางด้าน Art และ Linguistics (ศิลป์-ภาษา) ซึ่ง Shoreline มีวิชาทางด้านนี้ให้เลือกเรียน และ Shoreline ค่อนข้างมีชื่อด้าน academic (วิชาการ) มี resources (ทรัพยากร) ที่จะช่วยนักเรียนในการปรับตัวมากมาย จึงตัดสินใจเลือกที่ Shoreline
การเตรียมตัวก่อนไปเรียนที่ Shoreline
หลายคนที่เรียนหลักสูตร inter หรือ E.P. อาจจะเริ่มเรียนตั้งแต่เด็กๆ แต่ทิศาเรียนโรงเรียนจีนตั้งแต่เด็ก ซึ่งโรงเรียนนั้นสอนภาษาอังกฤษไม่ค่อยเข้าใจ ทิศาเข้าเรียนหลักสูตร bilingual เมื่อเข้าศึกษาในระดับชั้นม.1 ทำให้ทิศาต้อง catch up และเตรียมพื้นฐานด้าน grammar ทำให้มีพื้นฐานการอ่านและการเขียนที่ดี
สำหรับการเตรียมตัวด้านภาษาอังกฤษ ทิศาเตรียมตัวสอบ TOEFL เพื่อใช้คะแนนในการสมัครเข้าเรียนให้ได้เริ่มเรียนระดับวิทยาลัยตั้งแต่เทอมแรก โดยไม่ต้องเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ ในช่วงที่อยู่ไทยก่อนไปเรียนที่ Shoreline ทิศาฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ มี tip แนะนำ คือ ถ้าดูหนัง ดู show แล้วพบเจอคำหรือวลีที่ไม่รู้จัก ไม่เคยใช้ ให้นำมาฝึกใช้ สำหรับช่วงที่ไปแลกเปลี่ยน พบเจอ slang มากมาย หากเราไม่เข้าใจ ก็ถาม และนำคำ วลี slang ที่เราได้เรียนรู้ใหม่ๆ นี้ไปฝึกใช้กับคนใกล้ตัว และความถนัดด้านภาษาเราจะดีขึ้น
ความคาดหวังก่อนกลับไปเรียนต่ออเมริกาเป็นอย่างไรบ้าง?
ทิศาพยายามไม่คิดอะไรมาก เพราะมันไม่มีอะไรที่เรา predict ได้มาก คิดมาก คาดหวังมาก เราอาจจะผิดหวัง เราจึงต้องพยายามเตรียมตัวเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะการเตรียมตัวเองให้ flexible (มีความยืดหยุ่น) ทั้งเรื่องของเพื่อนและการเรียน หากจะคาดหวัง ก็อาจจะคาดหวังอะไรที่มันแน่นอน เช่น การเรียนจะยากขึ้น แต่ถ้ายากขึ้นแล้ว เราจะรับมือกับมันได้ยังไงได้บ้าง? เช่น เราจะฝึกการจดโน้ตยังไง? เราจะจัดการเวลาและตัวเองยังไง? เราจะ connect กับ professor และ advisor มากขึ้นไหม? เราจะลงคลาสโดยที่อาจจะคุยกับ advisor ว่าจะเริ่มจากคลาสง่ายๆ แล้วค่อยๆ ไล่ไปที่ยากขึ้นไหม
สำหรับเรื่องเพื่อนใหม่ ยังไงก็ต้องเจอเพื่อนใหม่อยู่แล้ว แต่เราก็ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราคาดหวังอะไร เช่น คาดหวังที่จะได้เจอและอยู่กับเพื่อนคนไทย หรือเราอยากได้เพื่อนจากนานาชาติด้วยหรือเปล่า?
ที่สำคัญการที่ idealise (คิด) ว่าทุกอย่างจะเพอร์เฟ็ค เป็นอะไรที่ไม่ควรทำ เพราะเรากำลังจะไปอยู่ในที่ใหม่ ที่เราไม่คุ้นเคย เราจะต้องพบเจอกับอะไรที่เราที่เราไม่เข้าใจหรือไม่เป็นตามที่เราคิดไว้ก็เป็นได้
ทิศาเรียนอะไรที่ Shoreline Community College?
ตอนที่สมัครเข้าเรียน ทิศาเลือกเป็น liberal arts (general studies) เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะเลือก major อะไร ในช่วงที่เรียนปี 1 เราได้ลงเรียนวิชาต่างๆ ในหลากหลายภาคแขนง รวมถึง General Education (การศึกษาพื้นฐานด้านตรรกะ ภาษา และพหุวัฒนธรรม), Humanities (มนุษยศาสตร์), Social Sciences (สังคมศาสตร์), Natural Sciences (วิทยาศาสตร์) และ electives (วิชาเลือกทั่วไป) ซึ่งทำให้เราได้สำรวจและค้นหาความชอบของเรา
เมื่อขึ้นปี 2 ทิศาเลือกเรียนด้าน communication studies ในเทอมแรก ทิศาได้ลงวิชา Communication Studies 101 (การสื่อสารเบื้องต้น) ตอนนั้นทิศารู้สึกว่ามันยาก อาจจะเป็นเพราะ ในขณะที่เรากำลังปรับตัว ต้องอ่านเยอะ เขียนเยอะ แต่เมื่อเราได้ลงเรียนวิชาต่างๆ และเราได้สังเกตตัวเอง เราก็ค้นพบว่า สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสนใจในวิชาเรียน มันมักจะไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราได้เรียนในวิชาด้าน Communication ที่เราได้เรียนไว้ตั้งแต่เทอมแรก เช่น ตอนปี 1 ทิศาลง elective ด้าน Anthropology (มนุษยวิทยา) ซึ่งมีเนื้อหาประมาณ Biology + สังคม + และการสื่อสาร เรารู้สึกว่ามันสนุกดี เรา enjoy กับการเรียน ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสังคมและการสื่อสาร เช่น มนุษย์ interact กันยังไง สื่อสารกันยังไง ในช่วงยุคต่างๆ เรารู้ได้ยังไงว่าอันไหนกินได้ ช่วงไหนเวลานอน เป็นต้น
หลังจากนั้น ทิศาลงเรียนวิชา Multicultural Studies ในส่วนของการศึกษาพื้นฐาน เราได้เรียนเกี่ยวกับ Inequity ปัญหาสังคม และความเหลื่อมล้ำทางโอกาส ซึ่งเนื้อหามันก็สอดคล้องไปกับสิ่งที่เราได้เรียนในวิชา Communication Studies และเราก็ได้ค้นพบว่าเราสนใจในเรื่องของ ความไม่เท่าเทียม เรื่องของอภิสิทธิ์ (Privilege) ได้เรียนรู้ว่าสื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของผู้คนในสังคมอย่างไร และมากน้อยเพียงใด
ด้วยสาขาที่แบบแผนการทำงานในสังคมอาจไม่ชัดเจนนัก มองอนาคตการทำงานของตัวเองไว้อย่างไร?
ทิศาถูกเลี้ยงมาให้ทำในสิ่งที่เราชอบก่อน แล้วค่อยคิดว่า เราจะนำสิ่งที่เราชอบจะไปต่อยอดยังไง วิธีการที่ถูกเลี้ยงมาแบบนี้มันมีผลกับการใช้ชีวิตของเรา ทิศาคิดว่า ถ้าเราชอบมันเพียงพอ มีแรงบันดาลใจมากเพียงพอ เราหาทางไปต่อยอดได้อยู่แล้ว
หากเปรียบเทียบกับสายงานอื่นๆ แล้ว มันอาจจะไม่เห็นแบบแผนที่เป็นรูปธรรม เหมือนอย่างสายการเรียนและสายอาชีพอื่นๆ แต่ Communication เป็นสายงานที่กว้างขวางมาก ทิศาจะไปทำงานที่ไหนก็ได้ อาจจะไปทำงานด้านสื่อ ทำงานในด้าน entertainment ทำงานในองค์กรด้านการสื่อสารก็ได้ เพราะทุกคนต้องการที่จะสื่อสาร
การโอนศึกษาต่อมหาวิทยาลัย UW Seattle
สมัคร Transfer เข้าศึกษาต่อหาวิทยาลัยในอเมริกาไหนบ้าง?
ทิศาเริ่มสมัครเข้ามหาวิทยาลัย ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ปีที่ 2 สำหรับมหาวิทยาลัยที่เปิดรับก่อน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในระบบ California ซึ่งทิศาได้สมัครไป UC Santa Barbara และ UC Berkeley และทำเรื่องสมัครเข้ามหาวิทยาลัยเสร็จสิ้นในช่วงเดือนมีนาคม ปีที่ 2 และทิศาได้สมัครที่ UW Seattle, UW Bothell, U Mass Amherst, Emerson College, Northeastern ไปเพิ่มเติม ทิศาได้รับการตอบรับจาก UW Seattle, UW Bothell, Emerson College และติด waitlist UC Berkeley … หลังจากนั้น UC Riverside และ UC merced ได้เสนอให้เข้าเรียนต่อด้วย
การเลือกเข้าเรียนที่ University of Washington Seattle
ทิศาเลือกไป UW Seattle เพราะจริงๆ สำหรับ California ถ้าไม่ใช่ University of California, Berkeley ก็ไม่ได้อยากไป California เท่าไหร่ ที่สนใจ Boston เพราะมีญาติคุณแม่อยู่ที่นั่น ก่อนหน้าทิศาลังเลระหว่าง UW Seattle และ Emerson College ซึ่งเป็น private liberal college ถึงแม้ทิศารู้ว่าอยากเรียนอะไร แต่ภาพเราไม่ได้ชัดขนาดว่าเราอยากศึกษาด้านการสื่อสารในประเด็นใดที่เฉพาะเจาะจง เราสามารถบอกขอบเขตความต้องการของเราได้ว่า เราอยากจะเรียน x เพื่อไปต่อ z ได้ชัดเจนขนาดนั้น และด้วยขนาดของ Emerson College ที่เล็กอาจจะไม่เอื้อสำหรับเงื่อนไขนี้ของทิศา
เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไข แผนการของตัวเองและระยะเวลาที่มี ทิศาคิดว่า UW ตอบโจทย์มากกว่า เพราะ UW เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ มีหลายคณะและหลายวิชาให้เลือกเรียน ซึ่งส่วนนี้น่าจะช่วยให้ทิศาได้เลือกเรียน เพื่อสำรวจ ค้นหา และทำความเข้าใจความสนใจและความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น
ใช้อะไรในการพิจารณาเลือกมหาวิทยาลัยบ้าง?
1) Responsiveness : การโต้ตอบสื่อสารของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยที่เรามีโอกาสได้พบเจอ และสื่อสารด้วยตั้งแต่การสมัครเข้าเรียน
2) Ranking : การจัดอันดับมหาวิทยาลัย เพื่อดูคุณภาพและมาตรฐานของการศึกษา แต่ดู program ranking คือการจัดลำดับสำหรับการศึกษาด้าน communication ที่เราสนใจ ไม่ได้ดู ranking โดยรวมของมหาวิทยาลัย และเราจะไม่ยึดติดกับส่วนนี้มากเกินไป
3) Review : ดูรีวิวพวก personal blog post เกี่ยวกับ faculty ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและภูมิหลังของแต่ละผู้สอนในสาขาวิชาที่เราสนใจในมหาวิทยาลัยนั้นๆ
และหากเรารู้สึก overwhelm ในกระบวนการการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย advisor ที่วิทยาลัย จะคอยช่วยแนะนำ step by step โดยที่เขาจะไม่ได้เชียร์หรือตัดสินใจแทนเรา เขาจะช่วยเราคิด ช่วยเราทำความเข้าใจตัวเลือกต่างๆ เพื่อให้เราได้ตัดสินได้ดีที่สุดด้วยตัวเอง โดยเขาอาจจะใช้ประสบการณ์ของนักเรียนที่เขาเคยเจอมา และแชร์ประสบการณ์ที่เราอาจมีร่วมกันกับนักเรียนคนอื่นๆ ในการแนะนำเรา
ทิ้งท้ายเกี่ยวกับความประทับใจในช่วงเรียนที่ Shoreline
เรื่องที่ช็อคระหว่างเรียนที่ Shoreline
ทิศารู้สึกว่า shoreline เป็นช่วงปรับตัว เราปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ช็อคเหมือนไปแลกเปลี่ยน ที่ไปตอนอายุ 15 ปี เราเคย imagine ว่าอเมริกาจะเป็นแบบนี้ แบบนั้น แต่เมื่อไปจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรเหมือนในหนังเลย จึงต้องปรับความคิด
ทั้งนี้ที่ Seattle มีความหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรม และการไปเริ่มเรียนเรียนต่อที่อเมริกา ที่ Shoreline เราได้พบเจอกับหลายๆ คนที่ relate (เชื่อมโยง) กับเราได้ มันช่วยให้เราทำความเข้าใจและปรับตัวได้ จึงปรับตัวไม่ยากมากนัก สำหรับการช็อค อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ที่ช่วยให้เราได้ทำความเข้าใจว่าเราชอบและไม่ชอบอะไรมากกว่า
ตอนที่ทิศาอายุ 15 ปี ทิศาเห็นอเมริกาในทีวี เป็นอะไรที่ idealize มาก อาจจะแตกต่างจากสภาพทางสังคมที่เป็นจริง เมื่อเราได้สัมผัสมันด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สื่อทั่วไปที่คนเข้าถึงได้ ทำให้เห็นและเข้าใจว่าอเมริกาเป็นอย่างไร มีสภาพและปัญหาเป็นอย่างไร ซึ่งความคาดหวังที่ผู้คนมีจึงอาจจะสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
ความประทับใจในช่วงเรียนที่ Shoreline
ช่วงทำงาน part-time ระหว่างเรียนเป็น Internationl Peer Mentors (IPMs) หรือที่ปรึกษาและจัดกิจกรรมให้นักเรียนนานาชาติ เป็นความทรงจำหนึ่งที่เราจะจดจำไปตลอด มันสนุก เหมือนไม่ได้ทำงาน วิทยาลัยจ่ายค่าตอบแทนให้ก็ดีนะ แต่ถึงเขาไม่จ่ายก็คงจะยังทำอยู่ดี (ฮ่าๆ) เพื่อนที่สนิทกันทุกวันนี้ คือเพื่อนที่ทำงานด้วยกันมา
การทำงานเป็น IPMs เราได้เชื่อมต่อ เชื่อมโยงคนคนนึงสู่อีกคนนึง เราเจอคนใหม่ๆ มันไม่น่าเบื่อ วันนี้เราไม่รู้ว่าเราจะเจอใคร จะโดนถามอะไร เราคาดการณ์ไม่ได้ และนี่เป็นความสนุกของงาน ฝึกให้เรามีความยืดหยุ่น ซึ่งความยืดหยุ่นเป็น quality ที่สำคัญมากๆ ในการเป็น people person รวมถึงการได้คิดแก้ไขปัญหาด้วย
การทำงานนี้ เราได้เชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนมา และมันเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างและหล่อหลอมตัวตนเราขึ้นมา
สุดท้ายมีอะไรอยากที่จะสื่อสารเพิ่มเติมไหม?
สิ่งที่ดีใจที่ดีสุด คือ การที่ได้เลือกเรียนสิ่งที่ชอบจริงๆ การได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง เราได้ experiences กับมันเต็มที่ เรามีแรงจูงใจเต็มที่ในการเรียนรู้ การให้โอกาสตัวเอง การทดลองเรียนสิ่งใหม่ๆ
เรียนต่ออเมริกากับ Shoreline CC คลิก