Ivy League, ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต

ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต ivy league

Ivy League
ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต 

William Deresiewicz อาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษประจำ Yale University ผู้เขียนหนังสือ Excellent Sheep : The Miseducation of the American Elite and the Way to a Meaningful of Life (แกะที่ดีเลิศ : การศึกษาที่ผิดปกติของชนชั้นนำอเมริกัน และหนทางการแสวงหาความหมายของชีวิต) ให้สัมภาษณ์กับ Laurent Cassani Davis บนเว็บไซต์ the Atlantic เกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมการศึกษาแบบชนชั้นนำต่อ grandiosity และโรคซึมเศร้า

Grandiosity คือ ความรู้สึกว่าตนยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง ทัศนคติที่ว่าตนดีกว่าผู้อื่น ซึ่งทำให้มองผู้อื่นว่าต้อยต่ำหรือมีคุณค่าน้อยกว่า

Deresiewicz ใช้คำว่า “Excellent sheep” (แกะที่ดีเลิศ) อธิบายถึงนักศึกษา Ivy League ในปัจจุบัน เนื่องจากนักศึกษาเหล่านี้มักจะมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเข้าศึกษาในวิทยาลัยชั้นนำอย่างครบถ้วน แต่นิยามของความดีเลิศนี้ค่อนข้างคับแคบเอาซะมากๆ “พวกเขาเป็นเด็กที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คุณกำหนด โดยที่ไม่ตั้งคำถามว่าทำไมถึงทำสิ่งนั้นๆ”

* อ้างอิงจากบทความ :
The Ivy League, Mental Illness, and the Meaning of Life – click
Credits : Lauren Cassani Davis @The Atlantic

Ivy-League-Mental-Illness-and-the-Meaning-of-Life
Photo Credit : Andrew Bret Wallis, Getty Images

แนวทางการใช้ชีวิตเช่นนี้มีอิทธิพลต่อความป่วยทางจิต (mental illness) ของนักเรียนและนักศึกษา

พวกเขาถูกทำให้เข้าใจว่าจะต้องเป็นและทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ มันเกือบจะเหมือนกับการทดลองสัตว์ที่ทารุณ ทุกครั้งมีสัญญาณเตือน พวกเขาจะปฏิบัติตามเงื่อนไขเสมอไป นั่นก็คือการกดปุ่ม ตามที่ถูกกำหนดไว้ นักศึกษาใน Ivy League จึงเปรียบเสมือน “แกะ” เพราะพวกเขาไม่เคยที่จะได้รับโอกาสที่จะพัฒนาทักษะสำหรับการค้นหาหนทางของตัวเอง พวกเขาคุ้นชินกับการทำสิ่งที่ถูกกำหนดมาให้ทำอยู่เสมอ

… แต่ปัญหา คือ ชีวิตที่จะมีคนมากำหนดทิศทางให้นั้นจะสิ้นสุดลง ณ ช่วงหนึ่งในชีวิต นักศึกษาใน Ivy League จึงมักต้องเผชิญกับอุปสรรคภายในจิตใจ สืบเนื่องจากทั้ง grandiosity และโรคซึมเศร้า

Photo Credit : wikipedia.org

วัฒนธรรมการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่เชื่อในการให้รางวัลกับการการทำดี (positive reinforcement)

เช่น “you are the greatest, you are the best, you are the brightest” เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะเหล่านี้ขึ้น นักศึกษาเหล่านี้มักจะเคยเป็นนักเรียนลำดับต้นๆ ในชั้นเรียน ได้รับคำสรรเสริญเยินยอจากบรรดาครูที่ได้หล่อหลอมอัตตาที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขา

Deresiewicz ได้บอกว่า มันเป็นความเชื่อมั่นในตัวเองในแบบที่ผิด (false self-esteem) เนื่องจากความรู้สึกมีค่าของเด็กไม่ได้อยู่กับตัวของเด็กเอง มันเป็นความรู้สึกมีค่าแบบมีเงื่อนไขที่ผูกติดกับปัจจัยภายนอก เช่น ผลการเรียน ชื่อเสียงของสถาบันที่เข้าเรียน ดังนั้นเด็กจึงต้องพยายามที่จะแข่งขัน และรู้สึกว่าต้องทำให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ

นี่เป็น “Unrealistic way of measuring their own worth.” เป็นวิธีการที่ไม่เกิดผลดีในการประเมินค่าของตนเอง เนื่องจากจะนำไปสู่มุมมองที่คับแคบเกินไป คือ หากไม่เป็นที่ 1 ชีวิตก็จะมีคุณค่าอะไรเหลืออยู่เลย เช่น การที่ไม่สามารถเข้าเรียนต่อที่ Harvard, Yale, Princeton ได้นั้นเป็นความเป็นอัปยศ น่าอับอาย เกินกว่าจะที่จะเข้าร่วมสังคมได้

meaning of life
Photo Credit : Bess Hamiti @Pexels.com

การใช้ชีวิตตามแบบแผนทางสังคมที่วางไว้

ว่าคุณจะต้องทำอะไรบ้าง 1, 2, 3, 4 โดยไม่ตั้งคำถามนั้นจะทำให้คุณกลายเป็น high-functioning sheep หรือแกะที่มีความสามารถในการปฏิบัติสูง คุณอาจจะขึ้นสู่จุดที่สูง หรือใกล้จุดสูงสุดได้ แต่คุณจะไม่สามารถทำอะไรที่มีความน่าสนใจหรือแปลกใหม่ได้เลย เพราะคุณสามารถปฏิบัติงานได้ แต่คุณไม่สามารถริเริ่มหรือสร้างสรรค์ได้

ในการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย/วิทยาลัยในอเมริกา ปกติคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครจะพิจารณาจากผลการเรียน ผลสอบวัดมาตรฐาน กิจกรรมนอกเวลาเรียน และรวมถึง “leadership + service” … Deresiewicz ได้วิพากษ์ต่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำต่อกัน เพราะรับรู้ว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำ

เมื่อปราศจากการตั้งคำถามแล้ว leadership ซึ่งในความเป็นจริงควรจะเป็นเรื่องของคุณภาพของ character การเสียสละ การริเริ่มและวิสัยทัศน์ มันกลับกลายเป็นเรื่องของการขึ้นสู่จุดสูงสุด นั่นหมายความว่าหากเพียงคุณมีตำแหน่งที่มีอำนาจ คุณคือผู้นำแล้ว สำหรับ service ตามความเป็นจริงมันควรจะเป็นเรื่องการทำให้โลกใบนี้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น หรือสนับสนุนคนที่มีโอกาสน้อยกว่า มันกลับกลายเป็นเรื่องของ resume และตัวเอง

ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต elite education
Photo Credit : Alexas_Fotos from Pixabay

วัฒนธรรมการศึกษาแบบชนชั้นนำ (elite education)

ได้สร้างและส่งต่อชุดคุณค่าทางสังคมที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1. การทำให้ตนมีความสำคัญหรือมีอำนาจเหนือผู้อื่น (self-aggrandizement)
2. การมุ่งทำสิ่งต่างๆ เพื่อตนเองเป็นสำคัญอยู่เสมอ และ
3. นิยามของชีวิตที่ดีใช้ตัวชี้วัดความสำเร็จแบบดั้งเดิม (conventional markers of success) คือ ความมั่งคั่งและสถานะทางสังคม (wealth and status) เป็นตัวตัดสิน โดยไม่ให้ความสำคัญของการศึกษา การเรียนรู้ การคิด หรือความเป็นไปได้ที่จะทำให้โลกใบนี้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น

ซึ่ง 50 ปีที่ผ่านมามันมาได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ชุดคุณค่านี้ได้ทำให้โลกดียิ่งขึ้นกับเฉพาะกลุ่มคนที่มีต้นทุนและโอกาสมากอยู่แล้ว ในขณะที่ทำให้โลกของคนที่มีต้นทุนและโอกาสแย่ลงไปเรื่อยๆ

ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต มนุษยศาสตร์
Photo Credit : Steve Johnson @Pexels.com

การศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ (humanities)

Deresiewicz เห็นว่าการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ (humanities) มีไว้เพื่อให้ผู้คนได้ตั้งคำถามถึงความหมายของชีวิต และความเป็นไปของโลก โดยการสะท้อนตนเอง (self-reflection) และการค้นหาคำตอบที่กว้างกว่าสายอาชีพของตัวเอง ในฐานะที่เป็นมนุษย์และพลเมือง ไม่ใช่การเรียนเพียงเพื่อเก็บชุดข้อมูลเฉพาะที่เกิดขึ้นอยู่เป็นสามัญ

สำหรับการเรียนรู้ตนเอง (self-knowledge) ไม่ใช่กระบวนการที่เรียบง่ายและไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่และอย่างไร การศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นทางการ (formal education) เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย นั้นมีข้อจำกัดในส่วนนี้ ดังนั้นสิ่งที่การศึกษาควรจะทำ คือ ช่วยเด็กพัฒนาวิธีการที่จะใช้สำหรับการสะท้อนตนเองได้

สำหรับตัวของ Deresiewicz เอง เขาก็ยังคงต้องเผชิญหน้ากับวงจรของ grandiosity โรคซึมเศร้า และการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะต้องเผชิญหน้ากับมันต่อไป แต่หวังว่าเราอาจจะรับมือกับมันได้ดีขึ้น สารสำคัญที่เค้าต้องการฝากถึงทุกคนคือ ทุกคนควรจะเป็นอิสระจากระบบและวัฒนธรรมเช่นนี้ได้ เพราะการศึกษาควรเป็นหนทางสู่ความเป็นอิสระจากการครอบงำทั้งหลาย

XB-Education-Mimi-Brian-Harvey-KorPunGun-

เนื้อหานี้อาจถูกเขียนมาไว้เพื่อให้ฉุกคิดกับค่านิยมทางสังคม และกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามกับตนเองมากขึ้น เนื้อหาและภาษาที่ใช้แปลและเขียนอาจฟังดูเป็นการสื่อสารเหมารวมต่อนักศึกษา Ivy League พอสมควร ในความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่ทุกคนใน Ivy league ที่เป็น excellent sheep ก็ได้ บางคนอาจจะได้ผ่านการคิดทบทวนและความเข้าใจกับตนเองมาเป็นอย่างดีแล้วว่าทำไมถึงเลือกและต้องการที่จะเข้า Ivy League

เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหานี้ในบริบทของสังคมไทย อาจพบว่ามีหลายสิ่งที่คล้ายคลึงกันอยู่ โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมและค่านิยมทางการศึกษา และความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในสังคม แต่เราอยากขอเสริมประเด็นเฉพาะของไทยไว้ด้วยว่า ในวัฒนธรรมและระบบการศึกษาของไทยยังมีความเป็นอำนาจนิยมที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ที่ผู้มีอำนาจน้อยกว่า เช่น นักเรียน รุ่นน้อง ครู เจ้าหน้าที่พนักงานและอื่นๆ มีสิทธิที่จะตั้งคำถาม ตลอดจนอิสรภาพที่จะแสดงออกได้อย่างจำกัด ดังนั้นในการที่จะพูดถึงหรือแก้ไขปัญหา เราจะต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย ตามที่ Newground เคยเสนอเป็นมุมมองไว้ว่า คนรุ่นใหม่ไม่ได้ hopeless หรือไร้ความหวัง แต่ powerless หรือไม่มีอำนาจ/ทรัพยากรเพียงพอที่จะใช้ชีวิตของตัวเอง

Tie-in : ก้อปันกันเชื่อในการส่งต่อความเป็นไปได้ และโอกาสที่จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อการพัฒนาศักยภาพ โดยที่ไม่จำกัดอยู่ในกรอบค่านิยมแบบดั้งเดิม เพราะเรามีความแตกต่างกัน เราจึงควรจะตัดสินใจเลือกและทำในสิ่งที่ลงตัวและสอดคล้องกับตัวตน เงื่อนไขและความเชื่อของเรา มากกว่าการมุ่งหน้าปฏิบัติตามค่านิยมดั้งเดิมโดยไม่ได้คิดตั้งคำถาม

สโลแกนของก้อปันกัน คือ “Let’s explore the worlds ; know the selves.” สะท้อนถึงความเชื่อของเราในการออกเดินทางไปเรียนรู้โลกกว้าง เรียนรู้ตนเองในต่างประเทศ ก้อปันกันได้พัฒนาโครงการ Cross Border (XB) Education [การศึกษานอกกรอบ] เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนปรับตัวและเรียนรู้ได้จากสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางวัฒธรรมของผู้เรียน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ XB Education คลิกที่นี่

Credits : Lauren Cassani Davis @The Atlantic
The Ivy League, Mental Illness, and the Meaning of Life

# Ivy League ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต
Featured Image Credit : David Mark, 12019 @Pixabay.com